เปิดทำเนียบสุดยอดนักบริหารแห่งปี 2558 : ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
- advancedbizmagazine
- 27 ส.ค. 2558
- ยาว 1 นาที

THE TOP 100 EXECUTIVES OF THE YEAR 2015 :สร้างความดี เสริมธุรกิจรุ่งกับกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ผลงานของดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซึ่งเป็นคนแรกออกมาบอกกับสังคม ถึงการนำกลยุทธ์นี้มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี ได้สะท้อนสัจธรรม ที่ว่า “ทำดีย่อมได้ดีเสมอ” White Ocean Stratetegy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว จากการเชื่อมโยงหลักธรรมทางตะวันออกเพื่อเป็นพื้นฐานในการบริหารงานและใช้ชีวิตแบบตะวันตกได้อย่างผสมผสานกลมกลืน จนกลายเป็นคลื่นสีขาวที่แผ่กระจายไปทั่วทั้งสังคม ทรงพลังและไร้ขอบเขต พร้อมเปิดเผยเคล็ดลับของบุคคลและองค์กรชั้นนำทั้งของไทยและต่างประเทศที่ยึดมั่นอยู่ในเส้นทางสีขาวและเป็นแรงขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคม “กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว” จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฝ่าออกจากภาวะวิกฤตทั้งทาง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ ให้เปลี่ยนสมรภูมิธุรกิจแห่งการแข่งขันเป็นสมรภูมิแห่งคุณธรรม
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวว่า “กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว คือ ทางสายกลางที่เป็นทางออกของวิกฤติด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จากความล่มสลายของทางสุดโต่งสองสาย ทั้งระบบสังคมนิยมที่ขาดแรงกระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพเนื่องจากปัจจัย ด้านเศรษฐกิจ สู่ความล่มสลายของระบบทุนนิยม (Pure Capitalism) ที่มุ่งเน้นสร้างผลกำไรและปั่นตัวเลข บนความโลภและการปลูกฝังผิดๆ ให้สร้างความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น จนขาดศีลธรรมและสติ ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก White Oceam Strategy คือ ทางสายกลางที่อยู่บนความลงตัว ความพอดี ก่อให้เกิดความสมดุลทั้งภายในและภายนอกสร้างความเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็น Sustainable Capitalism และ Sustainable Development
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้กล่าวต่อไปว่า กลยุทธ์น่านน้ำสีขาวหรือ White Ocean Strategy ประกอบด้วยกลยุทธ์ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ 7 ประการ อันได้แก่
ปัจจัยที่ 1 การเป็นธุรกิจสีขาวดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ปัจจัยที่ 2 การตั้งเป้าหมาย วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นที่ “มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง” มีการวางแผนระยะยาว ทั้งยอมรับพหุสังคม ซึ่งสอดคล้องกับการเปิดประชาคมอาเซียน
ปัจจัยที่ 3 การสร้างความสมดุลระหว่าง คน (People), ทรัพยากร (Planet), ผลกำไร (Profit) และเป็นองค์กรที่มุ่งมั่น ศรัทธาในอุดมการณ์ ไม่ไหลตามกระแสสังคมหรือสิ่งอื่นๆ (Passion)
ปัจจัยที่ 4 การแบ่งบัน
ปัจจัยที่ 5 คุณงามความดี ทั้งการคิดการพูด การกระทำในเรื่องเดียวกัน องค์กรเป็นเส้นตรง และศูนย์กลางแห่งองค์กรไม่ได้อยู่ที่เจ้านายหรือ CEO แต่ที่หลักการปฏิบัติที่ (Best Practices)
ปัจจัยที่ 6 การเป็นจุดเล็กๆ ของการเปลี่ยนแปลง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เน้นเรื่อง ‘ISR’ ไม่ใช่ CSR คือการทำความดีเริ่มต้นที่ตัวเราทำความดีทุกวันแล้วเป็นแรงบันดาลใจคนรอบข้างในการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ 7 องค์กรสีขาวเป็นองค์การที่สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้สังคม เป็นประภาคารทางความคิด เป็นแสงสว่างทางปัญหาให้สังคม” ผลจากการดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวหรือ White Ocean Strategy ก่อให้เกิดผลประกอบการที่สูงขึ้น เนื่องจากเชื่อมั่นและไว้วางใจในองค์กร ประการต่อมา คือ องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นธุรกิจสร้างสุข มีความเป็นธรรม ความเที่ยงธรรมแก่คนทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งเป็นองค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์ และประการสุดท้าย คือองค์กรจะเกิดความยั่งยืน (Sustainable Development) ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างคุณธรรม จริยธรรมและมีธรรมภิบาล
ดังนั้นองค์กรธุรกิจสีขาวไม่ได้มองว่า ‘ตัวเอง’ เป็นศูนย์กลาง ผลกำไรที่ผู้ถือหุ้นได้รับ ไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุด แต่จะให้ความสำคัญกับสังคมในทุกภาคส่วน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราไปพร้อมๆ กัน เราสามารถนำ ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว’ ไปใช้ในการบริหารในทุกๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับบริหาร ระดับปฏิบัติ กระทั่งการเจรจาการค้าต่างๆ
เราสามารถนำ ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว’ ไปต่อยอด เสริมส่งให้กระบวนการ ‘บรรษัทภิบาล’ เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในระดับบุคคล ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว’ จะช่วยเสริมเติมแต่ง และกระตุ้นเตือนให้ทุกๆ คนมอบโอกาสให้เพื่อนร่วมโลก เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความดีงามต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ช่วยกันคนละไม้ละมือจรรโลงโลก กลยุทธ์น่านน้ำสีขาวมีความยืดหยุ่นในตัว ไม่ได้มองโลกด้วยความสุดโต่ง รวมถึงยอมรับว่า ผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย
การทำธุรกิจไม่ว่าจะอยู่บนน่านน้ำสีใดก็ตาม ทั้งสีเลือดหรือสีคราม แต่องค์กรยืนหยัดอยู่บนน่านน้ำสีขาวจะสามารถขยายคลื่นแห่งคุณงามความดี ให้แผ่ไพศาลไปทั่วสังคม จึงทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งต่อองค์กรและส่วนรวม
ดังคำกล่าวทิ้งท้ายของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่ว่า “อยู่เพื่อตัวเอง อยู่แค่สิ้นลม ทำเพื่อสังคม อยู่ชั่วฟ้าดิน”
ปล.ท่านผู้อ่านสามารถอ่านฉบับเต็มและติดตามอ่าน รวมทั้งหมด 100 ท่านได้ในหนังสือ "Top 100 ผู้บริหารแห่งปี 2015"
Comments