top of page
ค้นหา

เปิดทำเนียบสุดยอดนักบริหารแห่งปี 2558 : ลักษณ์ วจนานวัช

  • รูปภาพนักเขียน: advancedbizmagazine
    advancedbizmagazine
  • 20 ส.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

THE TOP 100 EXECUTIVES OF THE YEAR 2015 : ในแวดวงเกษตรกรหากเอ่ยถึง คนทำงานแบบยึดหลักความถูกต้อง จริงจังพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้านแล้วต้องนึกถึง “ลักษณ์ วจนานวัช” ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ทำงานหนักให้ทุกคนได้เห็นถึงความมานะอุตสาหะ และตั้งใจจริงในการทำงาน

ธ.ก.ส. ภายใต้การบริหารของ ‘ลักษณ์’ มีบทบาทในการรับมอบภารกิจดังกล่าวลุล่วงไปได้ในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้การทำงานที่ยึดเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มุ่งหวังให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น โดยบริหารความสมดุลในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐให้สัมฤทธิ์ผลควบคู่กับการสร้างธรรมาภิบาลขององค์กร จนสามารถนำพาองค์กรผ่านความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอก ปัจจุบัน ธ.ก.ส. จึงเป็นสถาบันการเงินที่ลบเส้นกั้นระหว่างภาคการเงินในชนบทและเมืองพร้อมปลุกเกษตรกรไทยก้าวสู่ตลาดโลก

การดำเนินงานของธนาคารที่ต้องให้บริการแก่ลูกค้านอกเหนือจากการธุรกรรมทางการเงิน เช่นสถาบันการเงินทั่วไป โดย ธ.ก.ส. มองการพัฒนาไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าของธนาคาร และปัจจัยสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มคือองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกษตรกรยังมีอยู่จำกัด ซึ่งกลายเป็นอีกภารกิจของ ธ.ก.ส. ในการกระจาย องค์ความรู้สู่สังคมชนบท

“ความสำเร็จของ ธ.ก.ส. เกิดจาก 3 ปัจจัยสำคัญคือ ประการแรก การสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงภารกิจร่วมในการทำงาน ธ.ก.ส. ใช้การสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อให้พนักงานเข้าใจวิสัยทัศน์ของธนาคาร เข้าใจตัวชี้วัดแต่ละตัวกำหนดขึ้นมาเป็นประโยชน์อย่างไรต่อองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจะยังประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างไร

ต้องสื่อสาร เพื่อให้ทุกคนมีความเชื่อมั่น การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ เป็นภาวะ-การณ์นำ ถ้าสื่อสารชัดเจนเท่าไรคนมีวิสัยทัศน์ร่วมก็จะทุ่มเท พละกำลังที่ตัวเองมีอยู่ออกมาทั้งหมดเพื่อทำให้งานที่ตัวเองรับผิดชอบไปสู่เป้า-หมายภายใต้กรอบการทำงานที่มีธรรมาภิบาล

ประการที่สอง การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการภายใน ธ.ก.ส. แบ่งความรับผิดชอบเป็นศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility Center) ทั้งหมด 10 ศูนย์ โดยรับผิดชอบในภาคปฏิบัติการ 9 ศูนย์แบ่งตามภูมิภาคต่างๆ มีการถ่ายโอนตัวชี้วัดจากแต่ละระดับลงไปอย่างชัดเจน ตั้งแต่ระดับศูนย์ไปสู่ระดับจังหวัด จังหวัดสู่สาขา สาขาสู่ทีมงาน และจากทีมงานสู่พนักงานรายบุคคล

ศูนย์ที่ 10 คือสำนักงานใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการสนับสนุนสาขาก็จะทำเช่นเดียวกันทำให้ทุกคนในโครงสร้างหน่วยงานมีกรอบความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีตัวชี้วัดที่ถ่ายโอนมาจากตัวชี้วัดขององค์กรที่ ผู้จัดการธนาคารไปเซ็นรับทราบร่วมกับรัฐมนตรีที่ดูแลกำกับหน่วยงานมา

ประการที่สาม การประเมินและการให้รางวัล ธ.ก.ส. ใช้ระบบ Performance Linked Evaluation เพื่อพิจารณาเรื่องการขึ้นเงินเดือนพนักงาน โดยมีการกระจายตามประสิทธิภาพในการดำเนินงานของแต่ละจุด ทำให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงานให้กับองค์กรในภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ โดยกรอบการประเมินผลพนักงานจะพิจารณาเป็นหมวดๆ ทั้งเรื่องด้านการเงินที่เป็นภารกิจของธนาคารด้านการสร้างความเข้มแข็งให้ลูกค้า การทำงานร่วมกับชุมชน และด้านธรรมาภิบาล

ทั้งสามปัจจัยดังกล่าวทำให้ ธ.ก.ส. สามารถสร้างผลงานที่ดีจนได้รับรางวัล รัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมติดต่อกันถึง 2 ปี สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือคนในภาคชนบทของประเทศให้เข้าถึงทุน และมีส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาชนบทของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

ลักษณ์ วจนานวัช กล่าวต่อไปว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤติการสื่อสารองค์กร (TOTAL COMMUNICATION) เป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องไม่มีแก๊ปหรือช่องว่างเกิดขึ้น และที่สำคัญในบทบาท ธ.ก.ส. ก็ต้องไม่มีประเด็นให้สังคมคลางแคลงใจ ซึ่งตรงนี้ผมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

สำหรับหลักคิดในการบริหารในช่วงวิกฤตินั้น หลักการทำงานที่ผมยึดมาตลอด คือ 3 ประสาน ประสานความคิด ประสานใจ ประสานงาน โดยเริ่มจากให้คนที่เราปฏิสัมพันธ์ต้องเข้าใจได้ว่าเราคิดอะไร จากนั้นจึงประสานใจ คือทำด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นจะดูแลกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างชัดเจน และถ้าใจตรงกันก็จะประสานงานกันได้อย่างดี”

ปล.ท่านผู้อ่านสามารถอ่านฉบับเต็มและติดตามอ่าน รวมทั้งหมด 100 ท่านได้ ในหนังสือ "THE TOP 100 EXECUTIVES OF THE YEAR 2015"

 
 
 

Comments


Follow "THIS JUST IN"
  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Google+ Basic Black

© 2015 by "Advanced Standard Group.co.ltd". All Right Reserved

| ADVANCED STANDARD GROUP CO., LTD. Tel. +662-881-3421-3

 

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Pinterest Icon
  • White YouTube Icon
bottom of page