ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ คิดให้จบแล้วลงมือทำ
- Executive vision
- 23 ก.ค. 2558
- ยาว 2 นาที

ยุคนี้ ขอย้ำ ยุคนี้ อะไรเอ่ยคนใช้ไม่ได้ซื้อคนซื้อไม่ได้ใช้ ...อ๊ะอ๊ะเดี๋ยวก่อนโปรดอย่าได้เข้าใจผิด ต้องรีบเฉลย นั่นคือสินค้าไอที Insta.Printa เครื่องปริ้นภาพจากแอพฯสุดฮิต มารู้จักนักธุรกิจรุ่นใหม่ ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ ผู้บริหารแบรนด์คนไทย จนประสบความสำเร็จ เขามีแนวคิดดีดีในการทำธุรกิจด้วย Concept คิดให้จบแล้วลงมือทำ
ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ เล่าความเป็นมาให้ฟังว่า “จบจาก ร.ร.กรุงเทพคริสเตียน แล้วไปศึกษาต่อไฮสกูลที่นิวซีแลนด์ และไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ Monash ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างเรียนได้ทำงานด้านมาร์เก็ตติ้ง ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ต่อจากนั้นไปทำงาน Stock Analysis ที่บล.กิมเอ็ง หลังจากนั้นไปเป็น Project Manager ที่บริษัท Event แต่เมื่อคุณแม่เส้นเลือดในเลอแตก จึงได้กลับไปช่วยธุรกิจที่บ้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง
...ตั้งแต่เป็นพนักงานกินเดือน เริ่มตั้งแต่เงินเดือน 2 หมื่นบาท คุณแม่เส้นเลือดแตกปุ๊บ เงินจำนวน 2 หมื่นบาทเลี้ยงครอบครัวไม่ได้แล้ว ก่อนคุณพ่อเสียชีวิตได้ทิ้งเงินไว้ให้ก้อนหนึ่งให้ไปเรียนให้จบ ซึ่งทางบ้านพอมีเงินได้สักเดือน 1-2 เดือนแต่พอคุณแม่เส้นเลือดในสมองแตก จึงได้ออกจากงานที่ทำ แล้วมาทำงานธุรกิจที่บ้าน เริ่มสานงานต่อจากที่คุณแม่ทิ้งไว้

จากลูกชายคนเล็กอยากทำอะไรตามความฝันตัวเอง ตอนนั้นอยากไปต่อที่จีนก็ไม่สามารถไปได้แล้ว และการมีธุรกิจที่บ้าน เราต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง เสมือนการมีลูกเลย ลูกค้าโทรมาก็ต้องบริการ นี่เป็น Ethic ยิ่งโทรมาดึกก็คิดว่าต้องมีปัญหาแน่นอน ไปต่างประเทศก็ต้องเปิดโทรศัพท์ไว้ตลอด ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนเป็นพนักงานบริษัท ไปเมืองนอกปิดโทรศัพท์ก็จบ สั่งงานไว้กับเพื่อนได้ แต่ถ้าทำธุรกิจเองไม่สามารถฝากงานไว้กับเพื่อนได้ ถ้าเราไม่ตัดสินใจใครจะทำ
...นี่เป็นจุดพลิกเลยว่าจากพนักงานมาเป็นผู้ว่าจ้าง เราต้องทำอย่างไร แต่ก็โชคดีที่เราเคยเป็นพนักงานเริ่มตั้งแต่ต่ำสุด เราจะรู้ว่าเจ้านายที่ดี เจ้านายที่แย่คืออย่างไร เราได้รู้ว่า เจ้านายเก่าที่ดีทำอย่างไร เราก็ทำตามที่เขาทำ ส่วนเจ้านายที่ไม่ดีทำอย่างไร เราจะได้ไม่ทำ มันเป็นประสบการณ์ ”

สำหรับ ไอดอลของเขาแล้ว ณัชพล เล่าให้ฟังอย่างยกย่องว่า “คุณพ่อเป็นบุคคลต้นแบบของผม ถึงแม้ท่านจะเสียชีวิตไปนานแล้วก็ตาม เวลาที่ทำอะไรคุณพ่อจะทุ่มเท เก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมี Passion คุณพ่อเป็นเด็กเบตง เกิดมาไม่มีสตางค์ ตอนเด็ก ๆ เคยถามแต่ท่านไม่ได้บอก แต่ก่อนที่คุณพ่อเสียชีวิต ตอนนั้นท่านเป็นมะเร็ง ได้เขียนหนังสือทิ้งไว้ให้เล่มหนึ่ง ตอนนั้นผมอยู่เมืองนอก คุณพ่อบอกว่าตอนเด็ก ๆ ท่านอิจฉาเพื่อน ๆ มากที่ตื่นเช้าแล้วไปเรียนได้เลย แค่นั้นเราก็นึกว่าเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป แต่ตัวคุณพ่อต้องตื่นเช้าตั้งแต่ตี 4 ขี่จักรยานเพื่อไปส่งน้ำเต้าหู้ กว่าจะได้ไปเรียน คุณพ่อบอกว่าเหนื่อย แต่ความเหนื่อยนั้นทำให้อดทน ซึ่งถ้าเป็นเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยจะอดทน เพราะสบายเกินไป ลูกเจ้าของธุรกิจ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ไม่เก่งเท่าพ่อ เพราะไม่เหนื่อยเท่าพ่อ ถามว่าจำเป็นไหมที่ต้องเหนื่อย ถ้าธุรกิจอยู่ตัวแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเหนื่อย
...ตอนวัยเด็กเป็นการหล่อหลอม มีคนเปรียบให้ฟังว่า การเลี้ยงดูลูกเหมือนการเลี้ยงต้นไม้ ไม่ต้องให้น้ำมาก ถ้าให้น้ำเยอะก็ไม่ต้องมีราก ถ้าให้น้ำน้อยเพื่อต้องให้ต้นไม้มีรากชอนไช เหมือนลูกอยากได้สิ่งของ อย่าให้ทุกอย่าง ต้องแลกเปลี่ยนเหมือนกัน จะทำให้รู้ว่าการได้ของไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ Role model คือคุณพ่อท่านชอบหนังฮ่องกง ตอนเย็นไปขายตั๋วหนังเพื่อจะได้ดูหนัง ก่อนที่คุณพ่อเสียชีวิต ได้ไปเป็นมือขวาของ Golden Harvest บริษัทสร้างภาพยนตร์ สัญชาติฮ่องกง เป็นผู้บริหารเบอร์สองของบริษัท ทั้ง ๆ ที่เริ่มจากศูนย์เลย เหมือนตอนเด็กเราชอบ Steve Job มาก ต่อมาเราได้เป็นมือขวาของเขา ก็จะต้องรู้สึกภาคภูมิใจ ส่วนด้านการติดต่อค้าขายทำธุรกิจได้แบบมาจากคุณแม่ ”

สำหรับวิธีการจัดการธุรกิจ นั้น ณัชพล เผยว่า “ ตอนแรกที่เริ่มเข้ามาธุรกิจก่อสร้าง เราต้องเล่นได้ทั้งบทผู้ใหญ่และเด็ก เพราะถ้าเราเจอ Supplier มาขายของให้เรา เราต้องเล่นบทผู้ใหญ่ แต่ถ้าเราไปคุยกับ Supplier เราก็ต้องสวมบทเด็ก เพื่อขอความช่วยเหลือ ต้องเล่นให้ได้ทั้งบทผู้ซื้อและผู้ขาย สิ่งที่ทำคือ ต้องตัดสินใจให้ได้ ทุกคนต้องมีความคิดของตนเอง ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าทำผิดเราต้องกล้าขอโทษลูกค้า เพราะตอนจบลูกค้าอยากคุยกับเจ้าของ จบงานทุกงานเราต้องไปคุยกับลูกค้าเอง ลูกน้องผิดเราในฐานะผู้บริหารเราก็ต้องขอโทษ เราผิดเราขอโทษเอง ถ้าลูกน้องผิดเราต้องรับผิด ถ้าลูกน้องถูก เราต้องชื่นชม เราต้องทำให้ทุกคนแฮปปี้ ”
ณัชพล เล่าต่อไปว่าได้ทำธุรกิจใหม่ ๆ จากความมุ่งมั่นในการคิดที่จะลงมือทำธุรกิจด้าน Digital Startup Company ทันทีหลังจากเรียนจบ โดยรวมตัวกับเพื่อนคนไทยที่เรียนมาด้วยกันในสมัยมหาวิทยาลัย และมัธยมศึกษา 4 คน อีกทั้งยังร่วมหุ้นกับเพื่อนชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ในด้านเอเยนซี่จากประเทศอังกฤษอีก 2 คน เพื่อก่อตั้งบริษัท 9Zebra จำกัด ผู้พัฒนาเขียนโปรแกรมและบริการให้เช่าเครื่องปริ้นภาพจากแอพพลิเคชั่นอินสตาแกรม (Instagram) สำหรับงานอีเวนต์ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Insta.Printaซึ่งมีจุดเด่นเป็น Marketing Tools เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
...เริ่มธุรกิจจากตอนที่ทำงานที่บริษัท Event เห็นคนไทยจัดงานอีเวนท์กันเยอะ ซึ่งเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ต้องใช้คน10-20 คนต่อ การจัดอีเวนท์แต่ละครั้ง จัดมากสุดได้ 3 อีเวนท์ต่อเดือน ก็มาคิดว่าทำอย่างไรที่จะBreak even โดยไม่ต้องเหนื่อยมาก ใช้คนน้อยสุด อยากให้มันทำงานให้เราได้จึงได้คิดเครื่อง Insta.Printa นี้ขึ้นมาแล้วเอาไปตั้งได้ทุกงานโดยอยู่ได้ 30 งานต่อเดือนใช้คนเพียงแค่ 3 - 4 คน
ธุรกิจนี้เกิดขึ้นเนื่องจากธุรกิจอีเวนท์เกิดขึ้นมาก คนจัดงานอีเวนท์ หรือแบรนด์เป็นคนจ้างเรา เขาจ่ายเงินให้เราแล้ว เราเอาเครื่อง Insta.Printa นี้ไปตั้งที่หน้างาน พอตั้งงานเสร็จ ลูกค้าเขาจะมาอัพโหลดของเขาแล้วแชร์ และคนไทยชอบถ่ายรูป และรูปที่ดีที่สุดคือรูปฟรี ฉะนั้นหน้าที่เขาทำคือถ่ายรูปใส่ Hashtag ชื่องานแล้ว รูปก็จะพริ้นท์ออกมาโดยใส่ชื่อร้านเขา ซึ่งลูกค้าก็ชอบเพราะเขาได้รูปกลับบ้านฟรี แบรนด์ก็ชอบเพราะได้เงินจากโฆษณา ทุกคนในอินสตาแกรมมีFollower อีกอย่างหนึ่งคือเราเก็บข้อมูลการตลาดให้ทั้งหมดเราสามารถให้เขาเล่นเกมได้ ทำให้คนอัพรูปขึ้นเยอะที่สุด เพราะสมัยนี้ถ้าเราดูแบรนด์หลายแบรนด์ เกิดได้จากอินสตาแกรม เพราะฉะนั้นอินสตาแกรมค่อนข้างAttractive ”

ในด้านของการทำการตลาด ณัชพล เปิดเผย “ ตอนแรกเราทำตลาดที่เมืองไทยให้แข็งแรงก่อน เราทำให้คนคิดว่าแบรนด์เราเป็นแบรนด์นอกด้วยซ้ำ เพราะBranding ของเราเน้นเมืองนอก อีกอย่างสังเกตคือคนไทยชอบอะไรที่มาจากเมืองนอก เหมือนได้ไปสนทนาธรรมกับท่านว.วัชรเมธี ท่านบอกว่าท่านจะเปิดศูนย์ปฏิบัติธรรมที่ใหญ่มาก วิธีการโฆษณาคือจะให้ฝรั่งมานั่ง ดึงฝรั่งเข้ามาแล้วคนไทยอยากมาเอง เชิญคนไทยนั่งแล้วเฉย ๆ เขาบอกคนไทยนั่งทับทองนานแล้วแต่ไม่รู้ ถ้าฝรั่งมาเจอ คนไทยจะมาหยิบ คือเราทำแบรนด์กึ่ง ๆ เมืองนอก หลายคนเชื่อว่า 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าแบรนด์ของเราเป็นแบรนด์นอก
ในประเทศไทยถือว่ากำลังเป็นไปได้ดี จนทำให้ผลิตภัณฑ์ Insta.Printa ติดตลาดและถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ยังคงไม่หยุดนิ่งโดยการเดินหน้าขยายธุรกิจไปต่างประเทศซึ่งขณะนี้ได้ขยายไปในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ นิวซีแลนด์ เป็นที่เรียบร้อยขณะเดียวกันทางฝั่งเอเชียที่เล็งอยู่ในตอนนี้ก็มีอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์
...สิ่งที่เราทำตลาดแตกต่างจากเมืองไทยคือเราให้เป็น License เคยทำด้วยกันหลายวิธี ตั้งแต่ถือหุ้นร่วมกันก็มีปัญหา เราไม่รู้ว่าเขาคิดราคากับลูกค้าเท่าไร บางทีเขาบอกเราอย่าคิดงานนี้นะเพราะว่าฟรี แต่ที่สุดเขากลับไปคิดเงิน เราก็จะไม่รู้แล้วเพราะฉะนั้นเปิดบัญชีซึ่งปวดหัว งานบางงานไม่เก็บภาษี ไม่มีแวตในประเทศเขา หลังจากนั้นเราก็คิดค่าMaintain ต่อเดือน คิดเป็นงานไปเลยคิดถูก ๆ เลย ก็มีปัญหาอีก เขาก็บอกฟรีเราก็ไม่รู้ ตอนจบคิดวิธีแก้ปัญหาคือใช้เท่าไรใช้ไปเราคิดเงินก้อนเดียวจบ จะมี 3 เจ้าในประเทศเดียวกันก็ได้
งานนี้คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ทางแบรนด์ซื้อมาให้ลูกค้าใช้ ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องหาคือไม่ใช่เราต้องมาเปิดกลางห้างสยามพารากอนใช้ฟรี ๆ แล้วมาขายให้เขา คนที่เดินไปเดินมาในห้างไม่ใช่คนที่จ่ายเงินให้เรา สิ่งแรกครั้งแรกที่ทำคือเราไปทำอีเวนท์ฟรีก่อน ดูว่าร้านอาหารนี้อยู่ใต้ตึกเอเยนซี เดี๋ยวเอเยนซีต้องเข้ามารับประทานอาหารแน่นอน เราก็เข้าไปบอกร้านอาหารบอกผมขอทำฟรี 3 วันได้ไหม พี่ได้ Branding ฟรี ๆ ผมทำให้ฟรี ๆ คิดว่าถ้าเราคิดค่าโฆษณาให้คนพวกนี้เห็นแพงมาก มันต้องImpact มากๆสู้เราไปเปิดที่ร้านเขาเราทำฟรี เขาให้สถานที่ฟรี เราเสียเงินนิดเดียว แต่ต้นทุนเราถูกเหมือนFree Advertising ลูกค้าเขามาเห็น พอเราอีเวนท์ฟรี เราก็ไปสปอนเซอร์อีเวนท์ที่มีคนพวกนี้เยอะๆ เราก็ขอไปสปอนเซอร์ฟรี ปีที่แล้วผลประกอบการรายได้10 ล้านบาท มาร์จิ้น 60-70 เปอร์เซ็นต์ ”
สำหรับหลักการทำงานนั้น ณัชพล แนะนำว่า “ทำไปเรื่อย ๆ คิดแล้วต้องทำ เจ๊งแล้วก็ไม่เป็นไร ตอนจบอย่าเจ๊งเยอะ อย่าเจ๊งใหญ่ ลงทุนสัก1-2 แสนบาทก็ไม่เป็นไรถ้าสมมติพลาด ถ้ารู้ตอนนี้อีก 10 ปีเราจะไม่โง่เรื่องนี้แล้ว เช่นลงทุนกับเพื่อนโดนโกง1-2แสน เราจะรู้ว่าต่อไปอย่าทำแบบนี้ ถ้าจะทำอะไรต้องมีสัญญา ยิ่งทำธุรกิจไปเรื่อยจะรู้จักรอบคอบไปเอง ถึงระดับสูงสุดจะระมัดระวังมากขึ้น ทำไปเถอะเป็นบทเรียนชีวิต ขออย่างเดียวอย่าพลาดเรื่องเดิม

หลักการใช้ชีวิต เน้น work smart ทำงานทุกอย่างต้องสมดุล ทำงานด้วยพักด้วย เล่นกีฬาด้วย ทำงานจนเหนื่อยมาก สุดท้ายเอาเงินไปหาหมอ เพราะฉะนั้นต้อง Work life Balance ถ้าจะทำธุรกิจ 3 – 4 อย่างให้เราไปโฟกัสธุรกิจที่เราถนัดอย่าไปโฟกัสธุรกิจที่เราไม่เก่ง ไปหาหุ้นส่วนที่เก่งมาดีกว่า เช่นบริษัทที่ทำนี้เพื่อนจะเก่งเรื่องการพัฒนา เราจะเชี่ยวชาญเรื่องการตลาด เราทำส่วนที่เราถนัดเขาทำส่วนที่เขาถนัด เคยได้ยินบางที่พ่อแม่ชอบสอนลูก บอกว่าลูกด้อยเรื่องไหนให้ไปเรียนรู้เรื่องนั้นผมว่าคิดอย่างนี้ผิดนะ ผมคิดว่าถ้าลูกด้อยเรื่องอะไรสอนให้เขาเก่งเท่าเพื่อนก็พอ แต่ถ้าลูกเก่งเรื่องอะไรให้ไปเสริมให้ลูกโคตรเก่งเรื่องนั้นไปเลย เพราะถ้าเด็กเขาเก่งเรื่องอะไรเขาจะชอบเรื่องนั้น เขาชอบเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งห้ามเขายิ่งแ
อบไปทำ ส่งเสริมไปเลยดีกว่า เหมือนธุรกิจเราเก่งเรื่องอะไรเราก็โฟกัสเรื่องนั้น ๆ ไปเลยเรื่องเดียวกันก็ได้เรามี 3 บริษัท ใน 3บริษัทไม่ต้องไปทำงานอื่นที่เราไม่ถนัด แต่เราเอาคนอื่นที่ไว้ใจไปทำงานที่เขาถนัดงานนั้น ๆ ตอนนี้เราสามารถทำงาน 3 – 4 บริษัทได้โดยที่เราไม่เหนื่อย
การแข่งขันมีสูงขึ้นในปัจจุบัน การพัฒนาตัวเอง ความรู้ไม่ได้อยู่แต่ในหนังสือ การอ่านก็ทำให้พัฒนาไม่ว่าจะอ่านหนังสืออ่านจากเฟสบุ๊คก็มีคนแชร์ข่าวเต็มไปหมด เราก็ต้องรู้จักกรองข่าว อีกอย่างที่สำคัญที่สุด คนที่ฉลาดที่สุดคือลูกค้า เราจะรู้เทรนลูกค้า เราจะเห็นปัญหา เราสามารถสร้างสินค้าเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้

ผลงานของ Insta.Printa เราก็ภูมิใจ เริ่มต้นจากศูนย์ ทีแรกนึกว่าทำเล่น ๆ ปีสองปี ให้ไปได้ก็โอเคแล้ว แต่เมื่อธุรกิจเติบโตจนมีเครือข่าย 3 - 4 ประเทศ ยอดขายปีละ 10 กว่าล้านบาทและโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อน เคยคิดว่าได้เดือนละ 2 – 3 แสนก็พอใจแล้ว แต่พอได้เดือนละเป็นล้านก็ยิ่งภูมิใจ เริ่มจากศูนย์จริง ๆ
... ผลงานแรกที่ทำ ไปทำเทสท์หน้างาน งานเจ๊งเลย ไปสาย 1ชั่วโมง บอกลูกค้าว่าพี่เชื่อผม ไม่คิดเงิน พี่เขาเห็นเพื่อนเขียนโปรแกรม พี่เขาใช้เครดิตช่วยรับรองงานให้ ผลปรากฎว่างานออกมาดีมาก คนมาต่อแถวยาวเลย นามบัตรไม่พอแจก เราสร้างอะไรขึ้นมามีคนใช้ เรารู้สึกดีใจมาก Product สินค้าเราผ่านเหลือ Price ราคาและPromotion ส่งเสริมการขาย เชื่อว่า Product ดีอย่างอื่นว่ากันได้
การวิพากษ์วิจารณ์จากลูกค้า ถือเป็นเสียงจากสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นคำด่า ถ้าใครยอมเสียเวลามาด่าเรา เราต้องถือว่าเป็นบุญ สิ่งที่เราต้องทำคือต้องขอบคุณเขาเลย รับฟังและขอบคุณเขาก่อน เรามีข้อมูล50ได้มาอีก50 รวมเป็น100 เราจะทำหรือไม่ทำอีกเรื่องหนึ่ง เราควรฟังในทุก ๆ คน จะทำหรือไม่ทำอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเลือกปฏิบัติได้ ลูกค้าเข้ามาชอบไม่ชอบอย่างไหน เราทำที่ลูกค้าชอบ แรงเสียดทานดีทำให้เราเก่งขึ้น”
ในฐานะตัวแทนผู้นำองค์กรคนทำธุรกิจ ณัชพล ไตรวงศ์วรนาถ แนะนำอย่างไม่ปิดบังว่า “ ผู้ที่จะเริ่มมาทำธุรกิจ คิดให้จบ แล้วลงมือทำ ให้ทำไปเถอะ ทำผิดพลาดได้แต่อย่าให้พลาดเรื่องเดิม เพราะตอนจบ เราจะได้ประสบการณ์ ”

Kommentare