top of page
ค้นหา

ชาวฝั่งธนฯ เฮลั่น รถไฟฟ้า บางหว้า-ตลิ่งชัน มาแล้ว ไร้เวนคืน-สร้างบนเกาะกลาง ถ.ราชพฤกษ์

  • รูปภาพนักเขียน: advancedbizmagazine
    advancedbizmagazine
  • 16 ก.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

ในที่สุด "กทม.-กรุงเทพมหานคร" เคาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่สร้างจาก "บางหว้า-ตลิ่งชัน" หลังใช้เวลาเลือกเฟ้นอยู่หลายเดือน

แนวเส้นทาง 7.5 กม. มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่บริเวณสถานีบางหว้า จากนั้นวิ่งไปตามแนวถ.ราชพฤกษ์ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนน 3-3.5 เมตร เพื่อก่อสร้างโครงสร้าง จากนั้นจะผ่านทางแยกตัดถ.บางแวก (ซอยจรัญฯ 13) ผ่านทางแยกตัดถ.พรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

แล้วยกข้ามทางแยกถ.บรมราชชนนีทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกที่กำลังสร้างในแนวรถไฟสายใต้มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก กระโจมทอง บางพรม อินทราวาส บรมราชชนนี และตลิ่งชัน รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งเป็นทางยกระดับรองรับรถไฟฟ้า 2 ทาง มีระยะห่างกึ่งกลาง 3.80 เมตร โครงสร้างคานใช้วิธีการก่อสร้างแบบชิ้นส่วนหล่อสำเร็จในโรงงาน นำมาประกอบติดตั้งในสนามโดยยึดด้วยลวดอัดแรง ส่วนโครงสร้างทางวิ่งยกระดับรถไฟฟ้าช่วงพิเศษจะต้องยกข้ามทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก จำเป็นต้องมีโครงสร้างรูปแบบพิเศษ เพราะข้อจำกัดพื้นที่การวางตอม่อที่ส่งผลให้ช่วงคานยาวกว่าปกติ โดยจะเป็นทางวิ่งรถไฟฟ้าแบบคานยื่นช่วงสะพาน 35-50 เมตร เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาการจราจรฝั่งธนบุรีและเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ ๆ ในเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายทางมี สายสีเขียว ช่วงถ.สมเด็จพระเจ้าตากสินถึงบางหว้า, สายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระถึงบางแค, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อถึงตลิ่งชัน และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันถึงดินแดง "ค่าก่อสร้างเฉลี่ยก.ม.ละ 1,500 ล้านบาท รวมทั้งโครงการ 7.5 ก.ม. คาดว่าใช้เงินลงทุน 11,250 ล้านบาท จะไม่มีเวนคืนที่ดินเพราะสร้างบนเกาะกลางถนนเดิม ผลการศึกษาจะจบในเดือนก.ย.นี้ โดยวันที่ 28 ก.ค.นี้จะมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่เป็นครั้งที่ 2" แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ขั้นตอนต่อจากผลศึกษาจบ กทม.จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อบรรจุโครงการเข้าไปในแผนแม่บทรถไฟฟ้าเพิ่ม เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ ขณะเดียวกัน กทม.จะพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาเสนอมา 2 แนวทาง 1.กทม.ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา จัดหาระบบรถไฟฟ้า คัดเลือกผู้รับจ้างทำหน้าที่บริหารจัดการการเดินรถ จัดเก็บรายได้ค่าโดยสารให้ กทม. หรือมอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด รัฐวิสาหกิจของ กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดย กทม.ลงทุนบางส่วนและให้กรุงเทพธนาคมจัดหาเงินลงทุนและเป็นผู้ลงทุนในบางส่วน รวมทั้งเป็นผู้บริหารการเดินรถ 2.กทม.ร่วมลงทุนกับเอกชน รูปแบบอาจเป็นในลักษณะการกำหนดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ตามแนวทางการศึกษาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งกำหนดให้ภาครัฐเป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2561 แล้วเสร็จเปิดใช้ปี 2564 จะมีผู้โดยสารประมาณ 143,000 คน/เที่ยว/วัน

 
 
 

Comments


Follow "THIS JUST IN"
  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Google+ Basic Black

© 2015 by "Advanced Standard Group.co.ltd". All Right Reserved

| ADVANCED STANDARD GROUP CO., LTD. Tel. +662-881-3421-3

 

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Pinterest Icon
  • White YouTube Icon
bottom of page