กลุ่มสายงานวิศวกร เฟ้นจัด!! คัดตัวเด็ดเข้าทำงาน
- Credit by สุธิดา กาญจนกันติกุล
- 29 มิ.ย. 2558
- ยาว 1 นาที

กลุ่มสายงาน วิศวกรในปี 2015 นี้ ติดอันดับเป็นอาชีพสุดฮอต ที่มีการลงประกาศรับสมัครงานต่อเดือนประมาณ 26,031 อัตรา แต่รับจริงเพียง 7,880 อัตรา ทำให้เกิดการขาดแคลนวิศวกรสูงถึง 18,151 อัตรา แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงสูงกว่าพยาบาลอาชีพ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ $38.96 หรือประมาณ 1,282 บาท ต่อชั่วโมง และมีอัตราการเติบโตในปี 2010-2014 ที่สูงกว่าคือ 9 เปอร์เซนต์ รวมอัตราการจ้างงานของวิศกรทั้งหมดในปี 2014 คือ 235,817 คน ทั้งนี้นี้ทั้งนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตและความต้องการนั้นมาจาก การเจริญเติบโตของประเทศ และการแข่งขันกันพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ที่ระดับทั่วโลกมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ไม่ใช่แค่ในระดับ AEC เท่านั้น
ผลสรุปจากการศึกษาหรือสำรวจของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย จาก สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ได้ให้ความเห็น อย่างน่าสนใจว่า ภาพรวมของตลาด กลุ่มสายงานวิศวกร ในปี 2015 นั้นในไตรมาสแรก ยังไม่ร้อนแรงเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของกลุ่มสายงานด้านนี้ จะเติบโต และเป็นที่แย่งชิงมากในไตรมาสหลังๆ ซึ่งช่วงที่กลุ่มสายงานวิศวกรบูมที่สุดในอดีตที่ผ่านมา คือ ช่วงนโยบายรถคันแรก จากรัฐบาล หลังจากนั้นอัตราความต้องการ ก็ลดลงตามลำดับ แต่ถึงกระนั้น กลุ่มสายงานวิศวกร ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ในปัจจุบัน ความต้องการแรงงานสายงานวิศวกร โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ AEC นี้ คนที่ถูกดึงไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม นักศึกษาจบปริญญาตรี ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ 3-4 ปี โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่กำลังเร่งพัฒนา และขยายความเจริญภายในประเทศ กลุ่มสายงานวิศวกรของไทย ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งในอัตราความต้องการ เนื่องจากคุณภาพของวิศวกร ที่มีฝีมือดี ใส่ใจรายละเอียด และค่าแรงที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสายงานวิศวกรของสิงค์โปร ที่มีเนื้องานเทียบเท่ากัน นอกจากนี้ กลุ่มสายงานวิศวกร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น คาดว่า ในคิว 3-4 จะมีความคึกคักในตลาดกลุ่มสายงานวิศวกรมากขึ้นตามลำดับ กลุ่มสายงานวิศวกรที่มีความต้องการสูงในประเทศไทย และต้องดึงตัวบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามา ได้แก่ บุคลากรด้านน้ำมันก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
จากบทนำข้างต้น ที่พูดถึงความต้องการ แรงงานกลุ่มสายงานวิศวกร และมีความขาดแคลนแรงงานด้านนี้นั้น กล่าวคือ ความต้องการบุคลากรในสายงานนี้มีสูงมาก แต่หากคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานนั้นยังคงขาดแคลน ปัจจุบันนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก พร้อมกับทักษะรอบด้าน อีกทั้งยังมองหาผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน เหตุด้วย เพราะงานในกลุ่มสายงานวิศวกร บางทักษะต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน หรืออาจเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ Oil & Gas, งานเหมืองแร่ และงาน Construction เป็นต้น ประเทศไทยจึงดึงตัวบุคลากรที่มีทักษะโดยตรงจากประเทศเข้ามา อาทิ ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการขาดแคลนบุคลากร ทั้งๆ ที่มีแรงงานเข้ามาในตลาดเยอะ
องค์กรธุรกิจใหญ่ๆ ในประเทศ มีการจองตัวนักศึกษาในมหาลัย Top 5 และเน้นที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ในสาขาที่มีความต้องการ ดังนั้นการเลือกเข้าเรียนของนักศึกษา ในสาขาต่างๆ ของกลุ่มสายงาน วิศวกรนั้น มีความสำคัญที่ควรศึกษาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เพราะส่งผลในการหางานทำเมื่อนักศึกษาเรียนจบ โดยสังเกตได้จากนโยบายของรัฐบาล, เศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนสามารถหาข้อมูลได้จากบริษัทจัดหางานต่างๆ ซึ่งสาขาที่มีความต้องการสูงตลอดมา คือ สาขา Mechanical, สาขา Logistics ที่มาแรงใน 3-5 ปีนี้ และสาขา Electrical รวมถึง Network Engineer ที่หลังๆ มีการพัฒนาเป็นยุคดิจิตอล จึงทำให้สาขานี้ค่อนข้างมาแรง ในด้านของนักเรียนสายอาชีพอย่าง ปวช.-ปวส. นั้นความต้องการในตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนอาชีวะหันมาเรียนปริญญาตรีทางสายวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นทำให้มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตรงสามารถทำงาน Engineer ได้เลย แต่ถ้าเรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์จะมีความเสียเปรียบในด้านประสบการณ์ เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนเหมือนสายอาชีพ ซึ่งในจุดนี้แรงงานในสายอาชีพในประเทศไทยมีความต้องการในตลาดสูง และถือว่าขาดแคลนในช่วง 3-5 ปีนี้ เนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป ผู้คนนิยมเรียนปริญญาตรีมากกว่าสายอาชีพ
ทักษะที่มีความต้องการสูงในกลุ่มสายงานวิศวกร อันดับ 1.คงหนีไม่พ้นภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบัน เด็กจบใหม่ หรือเจนวาย (อายุ 15 - 30 ปี) นั้น มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แตกต่างจาก เจนเอ็กซ์ (อายุ 35 - 45 ปี) ที่มีประสบการณ์ทำงานเชี่ยวชาญกว่า แต่ภาษาอังกฤษแย่กว่า อันดับ 2. ทัศนคติในการทำงานที่ดี (ทักษะการสื่อสาร, มนุษย์สัมพันธ์ดี, ทีมเวิร์คที่ดี) เป็นธรรมดาที่หน่วยงานองค์กร ย่อมต้องการบุคลากรที่ไม่เกี่ยงงาน ยอมรับติ เพื่อนำไปแก้ไข อันดับ 3. ความชำนาญพิเศษ ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ สิ่งหนึ่ง ที่หน่วยงานองค์กรต่างๆ เฟ้นหา ดังนั้นบุคลากรควรมีการสร้างโปรไฟล์ของตัวเอง ที่สามารถบอกได้ว่าตั้งแต่ทำงานมาประสบความสำเร็จในด้านใดบ้าง และอันดับ 4. ทัศนคติที่สามารถปรับตัวเข้ากับหลายวัฒนธรรมได้ เพื่อเป็นการรองรับสังคมการทำงานแบบใหม่ ในเร็ววันข้างหน้า เมื่อเปิด AEC อย่างเต็มตัว สุธิดากล่าวสรุป
コメント