top of page
ค้นหา

เรื่องนี้มีคำตอบ : ป้ายชื่อร้านเก๋ๆ เสียภาษีอย่างไร

  • Advanced TIPS Credit by k-expert.askkbank.com
  • 14 พ.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

Think-Differently.jpg

โดย : นารีรัตน์ กำเลิศทอง

ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดร้านเพื่อทำกิจการเล็กๆ ไปพร้อมกับงานประจำ การตั้งชื่อร้านเก๋ๆ พร้อมทำป้ายติดหน้าร้าน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกค้าจดจำร้านของเราได้ แต่จะเลือกใช้ชื่อร้านเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ มีป้ายชื่อร้านใหญ่ๆ ไว้ให้ลูกค้าเห็นแต่ไกล หรือ ทำป้ายเล็ก ๆ เน้นสีสันดีนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจออกแบบป้ายชื่อร้านเป็นแบบไหน เชื่อว่าหลายๆ คนคงอาจจะลืมคิดไปว่า การมีป้ายติดหน้าร้านนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบและทำป้ายแล้ว ยังต้องเสียภาษีป้ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในทุกๆ ปีด้วย ลองมาดูกันค่ะว่าใน 1 ปี จะต้องเสียภาษีป้ายประมาณเท่าไร ภาษีป้ายคิดอย่างไร ภาษีป้ายคิดจากขนาดพื้นที่ความกว้างคูณความยาวของป้าย การคำนวณพื้นที่ของป้ายจะคิดเป็นตารางเซนติเมตร โดยเศษของ 500 ตางรางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้งค่ะ ส่วนจำนวนตัวอักษรที่อยู่ในป้ายจะไม่ได้นำมาคิดภาษีป้ายแต่อย่างใดค่ะ แต่ลักษณะตัวอักษร และตำแหน่งตัวอักษร จะเป็นตัวกำหนด อัตราภาษีป้ายซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทตามลักษณะของป้าย

ป้ายอักษรไทยล้วน เป็นป้ายที่คิดในอัตราถูกสุด คือคิดอัตราภาษี 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ป้ายหน้าร้านชื่อ “ร้านนางฟ้าเบเกอรี่” ขนาดกว้าง 200 ซม. ยาว 400 ซม. ภาษีป้ายจะเท่ากับ พื้นที่ 200 X 400 = 80,000 ตางรางเซนติเมตร ( 80,000 X 3 ) / 500 = 480 บาท ป้ายอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือภาพ หรือเครื่องหมายอื่นๆ โดยอักษรไทยทุกตัวในป้ายต้องอยู่ในตำแหน่งบนสุด โดยห้ามอยู่ต่ำกว่าอักษรภาษาอื่นๆ เช่น อักษรภาษาไทยอยู่ด้านบนอักษรภาษาอังกฤษ หรือเครื่องหมายการค้า อยู่ด้านล่าง จะคิดอัตราภาษี 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ป้ายหน้าร้านชื่อ “เบเกอรี่ Angel ” โดยคำว่า “เบอเกอรี่” อยู่ตำแหน่งด้านบน คำว่า “Angel” ป้ายมีขนาดกว้าง 200 ซม. ยาว 400 ซม. ภาษีป้ายจะเท่ากับ พื้นที่ 200 X 400 = 80,000 ตางรางเซนติเมตร ( 80,000 X 20 ) / 500 = 3,200 บาท

ป้ายไม่มีอักษรไทย หรือมีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ต่ำกว่าภาษาต่างประเทศ ป้ายประเภทนี้จะคิดในอัตราภาษีที่แพงสุดถึง 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ป้ายหน้าร้านชื่อ “Angel Bakery” ขนาดกว้าง 200 ซม. ยาว 400 ซม. ภาษีป้ายจะเท่ากับ พื้นที่ 200 X 400 = 80,000 ตางรางเซนติเมตร ( 80,000 X 40 ) / 500 = 6,400 บาท

หากคำนวณภาษีป้ายแล้วจำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาท ก็ให้เสียที่ 200 บาท และหลังจากที่มีการเสียภาษีป้ายไปแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงป้ายบางส่วนจนทำให้มีพื้นที่ป้ายเพิ่มขึ้นหรือป้ายขนาดใหญ่ขึ้น จะเสียภาษีเฉพาะเงินภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

ยื่นแบบเสียภาษีป้ายได้ที่ไหน เจ้าของป้ายสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่สำนักงานเขตภายในเดือนมีนาคมของทุกปี หากมีการติดตั้งป้ายใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเดือนมีนาคมไปแล้ว ต้องยื่นแบบภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับตั้งแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้าย หลังจากได้ป้ายเก๋ๆ ไว้ติดหน้าร้านแล้ว ก่อนที่จะติดป้ายอย่าลืมขออนุญาตติดตั้งกับทางสำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต. โดยเจ้าหน้าที่จะออกเอกสารใบอนุญาตติดตั้งป้ายให้กับเรา และใช้เอกสารยื่นประกอบการชำระภาษีป้ายด้วยค่ะ

K-Expert Action

ใช้ชื่อร้านค้าเป็นอักษรไทยล้วนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

หากต้องการใช้ 2 ภาษาในการตั้งชื่อร้าน การเลือกภาษาไทยอยู่ด้านบนภาษาอื่นจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 50%

ขอบคุณภาพจาก

http://45degreeslatitude.com/blog/wp-content/uploads/2014/10/Think-Differently.jpg

 
 
 

Comentários


Follow "THIS JUST IN"
  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Google+ Basic Black

© 2015 by "Advanced Standard Group.co.ltd". All Right Reserved

| ADVANCED STANDARD GROUP CO., LTD. Tel. +662-881-3421-3

 

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Pinterest Icon
  • White YouTube Icon
bottom of page