top of page
ค้นหา

นักบริหารที่ไร้ขีดจำกัดจะแสวงหาโอกาสจากความล้มเหลว

  • รูปภาพนักเขียน: advancedbizmagazine
    advancedbizmagazine
  • 2 พ.ค. 2558
  • ยาว 1 นาที

38f89f78d2c9e7c114c52d1d35224b35.jpg

การที่บริษัทหนึ่งซึ่งเดิมอาจผลิตสินค้าที่ตลาดให้การยอมรับ แต่หากหวังว่าสินค้าของตนเองจะจำหน่ายในรูปแบบเดิมๆ ไปนานๆ ไม่หือไม่อือกับความเปลี่ยนแปลงใดๆนั่นอาจเป็นความคิดที่ผิดถนัด โดยเฉพาะในโลกที่กระหายนวัตกรรมเช่นนี้ ไม่ใช่เพียงผู้บริโภคจะต้องการโพรดักท์ที่ว้าวๆ (wow) อยู่เสมอแล้ว คู่ต่อสู้ก็อาจทะยานผ่านแล้วทิ้งท่านไว้เป็นอดีตที่ไม่มีใครจำได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจได้ว่า การที่ SME จะลุกขึ้นมาสร้างนวัตกรรมในทันที ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการคิดค้นสิ่งใหม่ย่อมมีความเสี่ยงสูงในการเผชิญหน้ากับความล้มเหลว ที่สำคัญคือค่าใช้จ่าย R&D แล้วจะมีทางออกอย่างไร ผมมีข้อเสนอท่านยด้วยกลยุทธ์ Failure Management เพื่อให้บริษัทกล้าที่จะทดลองและสร้างสรรค์ โดยไม่ปล่อยให้อาการหวาดกลัวความล้มเหลวมาปิดกั้นการคิดค้นนวัตกรรมครับ

1. ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากโครงการนั้นไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เรามักจะกลัวความล้มเหลว ความขัดแย้ง และความผิดพลาด โดยไม่เคยใช้เหตุผลอย่างจริงจังว่า “หากโครงการที่ทำล้มเหลวลง เราจะต้องสูญเสียเงินทั้งหมดเท่าไร” นวัตกรรมดีๆ ที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากและมีความเสี่ยงต่ำ จึงมักถูกปิดกั้นไปโดยปริยาย เพราะสัญชาตญาณระวังภัย หรือการปลอดภัยไว้ก่อน (Play Safe) นั้น เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว บริษัทที่ดีจึงควรมอบงบประมาณก้อนหนึ่ง ตั้งเป็นรางวัลไว้สำหรับให้พนักงานทุกคนได้มีโอกาสใช้ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกลัวว่าเงินจำนวนนี้จะสูญเปล่า เพราะหากมีเพียง 1 ใน 10 ของโครงการที่ประสบความสำเร็จ บริษัทก็จะได้ผลตอบแทนกลับคืนมาเป็น 100 เท่า เมื่อเทียบกับเงินทุนที่ลงไป ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่สินค้าเด็ดๆ 1 ตัว สามารถวางขายได้หลากหลายช่องทาง ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ไปจนกระทั่งถึงโลกออนไลน์ การลงทุนเพื่อพัฒนาสินค้าชั้นเลิศ จึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากว่ายุคโบราณยิ่งนัก อย่างไรก็ตาม บริษัทจะต้องคัดกรองโครงการอย่างเข้มงวด ไม่ปล่อยให้พนักงานนำเงินไปใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย แต่ถ้าพนักงานคนนั้นได้พิสูจน์ว่าตัวเองว่าจริงจังและทุ่มเทกับโครงการมากพอ ผู้บริหารควรที่จะเปิดโอกาสให้ทดลองได้นวัตกรรมที่ดีหลายชิ้นก็เกิดขึ้นจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป

2. ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู สินค้าดีหรือเลวก็ขายได้ เราควรจะเก็บเงินสด เพื่อสำรองไว้ใช้สร้างนวัตกรรมในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ภาวะเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลาแห่งความเฟื่องฟูและถดถอยมักเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงควรมีวิสัยทัศน์ในการลงทุนเพื่อนวัตกรรมอย่างชาญฉลาด ห้วงเวลาที่ควรลงทุนกับนวัตกรรมมากที่สุด คือ ช่วงเศรษฐกิจซบเซา เพราะคนทั่วไปจะประหยัดเงินมากขึ้น การตัดสินใจซื้อของพวกเขาจึงต้องการความคุ้มค่าที่มากกว่าเดิม หรือหากต้องจ่ายแพงขึ้น ก็ต้องมั่นใจว่าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณค่าสูง หรือมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน หากเรามีเงินทุนสำหรับคิดค้นนวัตกรรมในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ เราก็จะสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดมาจากคู่แข่งได้อย่างสบาย เพราะบริษัทส่วนใหญ่มักจะยินดีลงทุนในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูมากกว่า พวกเขาจึงมักต้องประหยัดในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซา เนื่องจากเงินทุนก้อนใหญ่ได้ใช้หมดไปก่อนหน้านี้แล้ว เราต้องกล้าที่จะสวนกระแส เพราะนวัตกรรมจะมีประโยชน์สูงสุด ก็ในช่วงที่คู่แข่งทุกคนมองไม่เห็นคุณค่าของมัน

3. อย่าตำหนิหรือสรรเสริญ “ความล้มเหลว” แต่จงรับฟัง บางคนรู้สึกว่า เพื่อให้คนกล้าเสี่ยงในการคิดค้นนวัตกรรม เราจึงไม่ควรตำหนิความล้มเหลว หรือจะให้ดีกว่านั้น เราควรจะชื่นชมด้วยว่า “ล้มเหลวได้ดียิ่ง” อย่างไรก็ตาม คนที่ชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ กลับต้องการมากกว่านั้น นั่นคือ การรับฟังและแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา เพราะถึงที่สุดแล้ว นวัตกรรมเป็นเรื่องใหม่ ไม่มีใครบอกได้ว่ามันจะสำเร็จหรือล้มเหลว บางทีมันอาจสำเร็จในวันนี้ แต่กลับล้มเหลวในระยะยาวก็เป็นได้ ในทำนองเดียวกัน นวัตกรรมที่ดี บางครั้งก็ต้องใช้เวลาเพื่อพิสูจน์คุณค่า ความล้มเหลวในช่วงแรก จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมไม่ดีพอ แต่อาจเป็นเพราะลูกค้ายังไม่คุ้นเคย หรือวิธีการขายของเรายังไม่ถูกต้อง การที่หัวหน้าและทุกคนในทีมให้ความใส่ใจกับนวัตกรรมที่ล้มเหลว ย่อมนำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้น จนกระทั่งอาจกลายเป็นสินค้ายอดฮิตที่ทำยอดขายถล่มทลายได้

Credit: http://www.scbsme.com/

 
 
 

Comments


Follow "THIS JUST IN"
  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Google+ Basic Black

© 2015 by "Advanced Standard Group.co.ltd". All Right Reserved

| ADVANCED STANDARD GROUP CO., LTD. Tel. +662-881-3421-3

 

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Pinterest Icon
  • White YouTube Icon
bottom of page