top of page
ค้นหา

เผยกุ้งไทยส่งออกไปสหรัฐฯ หลุดข้อกล่าวหาทุ่มตลาด

  • Advanced REPORT
  • 22 เม.ย. 2558
  • ยาว 1 นาที

guru02_pic01.jpg

ประนิตา เกิดพิกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐ เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ (The Coalition of Gulf Shrimp Industries: COGSI) ยื่นอุทรณ์คดีกล่าวหา กุ้งนำเข้าจากแหล่งนำเข้า 7 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม จีน เอควาดอร์ อินเดีย และ มาเลยเซีย และ อินโดนิเซีย ส่งผลเสียอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศสหรัฐฯ และเรียกร้องให้เรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุด (CVD) ต่อศาลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (US Court of International Trade : CIT)นั้น ผู้พิพากษา Gregory W. Carman ตัดสินยกฟ้องคดีกุ้งนำเข้าจากต่างประเทศไม่ได้ส่งผลเสียอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศสหรัฐฯ

ทั้งนี้ผู้พิพากษามีความเห็นว่า การฟ้องร้องไม่ถูกต้อง และยืนยันว่า คำตัดสินของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (US International Trade Commission : ITC ) มีความถูกต้องแล้ว เนื่องจากความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลาการสืบสวน เป็นผลจากน้ำมันดิบของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมกุ้ง มากกว่าเป็นผลกระทบจากกุ้งนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้แหล่งผลิตในต่างประเทศ(7 ประเทศ) มองเห็นโอกาสและช่องทางการค้า จึงใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ จึงไม่ใช่เรื่องการค้าไม่เป็นธรรม

“คำตัดสินของศาลการค้าระหว่างประเทศเป็นผลให้สินค้ากุ้งนำเข้าจากแหล่งผลิต 5 แห่ง คือ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และ บราซิล ไม่ต้องเสียภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซ้ำสอง ให้สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเพิ่มนำเข้าสินค้ากุ้งของไทยมายังสหรัฐฯ” ประนิตา กล่าว

สำหรับภาวะการค้ากุ้งในตลาดโลกนั้น อินเดียประสบปัญหาโรคกุ้ง และ ปัจจุบันองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ได้เข้มงวดกักกันสินค้าอาหารทะเลนำเข้าจากอินเดีย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย เนื่องจากพบว่า มียาปฏิชีวนะเจือปน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของสินค้ากุ้งของไทย

รูปอธิบดี.JPG

นันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สค.) กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกสินค้ากุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป (ไม่รวมกุ้งกระป๋อง) ปี58ของไทย คาดว่าจะมีมูลค่า 1,948.05 ล้านเหรียญฯ หรือ ขยายตัว 5% โดยการส่งออกใน 2 เดือนแรก(ม.ค. – ก.พ. 58)แบ่งเป็นการส่งออกกุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป มีมูลค่ากว่า 218 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณรวม 19,956 ตัน แบ่งเป็น กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง ปริมาณ 9,228 ตัน เพิ่มขึ้น 7.5% และกุ้งแปรรูป ปริมาณ 10,728 ตัน เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

“สินค้ากุ้งของไทยคุณภาพและกระบวนการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ แม้ว่าช่วง 2 ปี จะประสบปัญหาผลผลิตลดลง การขาดแคลนแรงงาน และอื่นๆ หากสนับสนุนให้มีการแปรรูป ส่งเสริมความหลายหลายในผลิตภัณฑ์ การขยายตลาด และการจัดระเบียบผู้ประกอบการและยกระดับมาตรฐานด้านสถานที่แปรรูปสัตว์น้ำ คาดว่าจะสามารถส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น”นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า สำหรับความแปรปรวนของสภาพอากาศร้อนและแล้งส่งผลต่อความเค็มของน้ำที่มีผลต่อน้ำที่นำมาใช้เพาะเลี้ยงกุ้งในฟาร์ม

ตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร แคนาดา และเกาหลีใต้ รวมกัน คิดเป็นสัดส่วน 84 %ตลาดอื่นที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ เวียดนาม 322% แอฟริกาใต้ 299% รัสเซีย 112 %อิตาลี 111% และมาเลเซีย 70 %

 
 
 

Comments


Follow "THIS JUST IN"
  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Google+ Basic Black

© 2015 by "Advanced Standard Group.co.ltd". All Right Reserved

| ADVANCED STANDARD GROUP CO., LTD. Tel. +662-881-3421-3

 

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White Google+ Icon
  • White Pinterest Icon
  • White YouTube Icon
bottom of page